คอนกรีตผสมเสร็จ และบริการ : คอนกรีตพิเศษ [SPECIALTY]
คอนกรีตความร้อนต่ำซีแพค
รายละเอียด
ลดปัญหาและความกังวลเรื่องการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากอุณหภูมิ (Thermal Crack) ด้วยคอนกรีตพิเศษที่ถูกออกแบบให้เกิดความร้อนต่ำกว่าคอนกรีตปกติ โดยเฉพาะโครงสร้างที่มีความหนามากกว่า 50 ซม.ขึ้นไป
เนื่องจากโดยทั่วไป คอนกรีตจะมีการคายความร้อนออกมา หลังจากที่ซีเมนต์ในคอนกรีตทำปฎิกิริยากับน้ำ โดยเฉพาะโครงสร้างที่มีความหนามากกว่า 50 ซม.ขึ้นไป ความร้อนที่สะสมอยู่ภายในโครงสร้างอาจมีอุณหภูมิสูงมากกว่า 70 องศาเซลเซียส จึงก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิที่ผิวและอุณหภูมิภายในโครงสร้าง (Differential Temperature) ทำให้คอนกรีตเกิดการหดตัวและการยึดรั้งที่ต่างกัน ในที่สุดคอนกรีตก็จะแตกร้าว (Thermal Crack) ทำให้น้ำและความชื้น อาจซึมผ่านโครงสร้างคอนกรีตเข้าไปทำลายเหล็กเสริม ทำให้โครงสร้างไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบไว้
เหมาะสำหรับงานประเภท
โครงสร้างที่มีความหนามากกว่า 50 ซม. ขึ้นไป เช่น ฐานรากขนาดใหญ่ คานขนาดใหญ่ เขื่อนคอนกรีต
คุณสมบัติ
- เป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาเพื่อคายความร้อนต่ำกว่าคอนกรีตปกติ
- เนื้อคอนกรีตมีความลื่นไหล เทง่าย จี้เขย่าได้ง่าย ช่วยลดเวลาการทำงาน
- กำลังอัดในระยะยาวสูงกว่าคอนกรีตทั่วไป มีการเยิ้มน้ำ การแยกตัวและหดตัวต่ำ
คำแนะนำในการใช้งาน และข้อควรระวัง
- แบบหล่อด้านข้างควรใช้แบบไม้ เพราะมีค่าความเป็นฉนวนความร้อนที่ดี ควรบ่มคอนกรีตหลังการเทด้วยฉนวน เช่น โฟม หรือการเททรายแห้ง หนาประมาณ 5 ซม. เพื่อทำให้อุณหภูมิในโครงสร้างมีค่าใกล้เคียงกัน
- สำหรับฐานรากขนาดใหญ่ที่มีการแบ่งเทเป็นชั้นในแนวนอน ควรคำนึงถึงเหล็กเสริมบน ระหว่างชั้นที่เท เพื่อป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีตที่ผิวบน (โปรดพิจารณาให้เป็นไปตามมาตรฐาน ACI 207.2R)
- การแบ่งเทฐานรากขนาดใหญ่ การแบ่งเทแนวตั้ง – ต้องใส่เหล็กเสริมถ่ายแรง (Dowel) เพื่อรับแรงเฉือนแนวดิ่งบริเวณรอยต่อของคอนกรีต
- การแบ่งเทแนวนอน – ต้องใส่เหล็กเสริมถ่ายแรง (Dowel) เพื่อรับแรงเฉือนแนวราบบริเวณรอยต่อของชั้นคอนกรีต รวมทั้งเพิ่มเหล็กเสริมกันแตกที่ผิวบนของคอนกรีตชั้นล่าง
- วิธีการบ่มด้วยฉนวน (Insulation Cure) การบ่มคอนกรีตด้วยฉนวนเพื่อควบคุมไม่ให้อุณหภูมิที่ผิวถูกถ่ายเทเร็วเกินไป จนทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายในและภายนอก จนทำให้เกิดการหดตัวที่แตกต่างกัน และนำไปสู่การแตกร้าว
- การบ่มด้วยฉนวน มีวิธีการ ดังนี้
- คลุมด้วยแผ่นพลาสติก โดยให้รอยต่อของแผ่นพลาสติก วางทับกันและให้มีระยะที่ทับกันไม่น้อยกว่า 15ซม.
- วางโฟมที่มีความหนาอย่างน้อย 2ซม. บนแผ่นพลาสติก
- คลุมทับอีกครั้ง ด้วยแผ่นพลาสติก โดยให้รอยต่อของแผ่นพลาสติก วางทับกันและให้มีระยะที่ทับกันไม่น้อยกว่า 15ซม.
- ควรหาวัสดุวางทับเพื่อไม่ให้แผ่นพลาสติกปลิว
- ในกรณีที่มีการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิของคอนกรีตในโครงสร้าง สามารถพิจารณาระยะเวลาในการปลดฉนวนออก โดยรอจนอุณหภูมิคอนกรีตที่แกนกลางลดลงมาในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกร้าว (ความต่างระหว่างอุณหภูมิที่แกนกลางคอนกรีต และ อุณหภูมิอากาศ ต้องน้อยกว่า 35 องศาเซลเซียส)

ผลิตภัณฑ์ที่คุณอาจสนใจ
เรื่องน่ารู้งานคอนกรีตที่คุณอาจสนใจ

บริการ CPAC
ก่อสร้างก้าวไกล ทันสมัยกว่าที่เคย ด้วยนวัตกรรม CPAC Drone Solution

บริการ CPAC
CPAC ห่วงใยในสุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้าทุกท่าน พร้อมส่งมอบสินค้าคุณภาพ

บริการ CPAC
ไม่ต้องลำบากยากเข็น (คอนกรีต) เมื่อใช้บริการ Easy Pump

บทความงานคอนกรีต
ก่อสร้างเรื่องเล็ก เมื่อคำนวณสเปคด้วย BIM

มุมนายช่าง
ช่างทั่วไทยถูกใจสิ่งนี้

ปัญหางานคอนกรีต
พื้นคอนกรีตหลุดร่อน หากแต่งผิวหน้าคอนกรีต ตอนยังไม่หยุดเยิ้มน้ำ
ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ?
ท่านสามารถขอยกเลิกความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ที่เว็บไซต์เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับ โดย คลิกที่นี่ หรือติดต่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ระบุไว้ใน นโยบายความเป็นส่วนตัว ?
สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอื่นๆ ที่เอสซีจี (บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่มเอสซีจีตามงบการเงินรวม) ได้เก็บรวบรวมไว้ โปรด คลิกที่นี่ หรือติดต่อที่ data.privacy@scg.com