ข่าวสารและกิจกรรม : ความเคลื่อนไหว CPAC

“Catenary Arch” ประติมากรรมก้าวข้ามขีดจำกัดของงานดีไซน์ ด้วย “CPAC 3D Printing Solution” ในงาน Bangkok Design Week 2024

1 กุมภาพันธ์ 2567
แชร์เนื้อหานี้ :

“Catenary Arch” ประติมากรรมก้าวข้ามขีดจำกัดของงานดีไซน์
ด้วย “CPAC 3D Printing Solution” ในงาน Bangkok Design Week 2024

เปิดศักราชใหม่เอาใจสายอาร์ตผู้ชื่นชอบงานสถาปัตยกรรม ที่ครั้งนี้ “CPAC Green Solution” ผู้นำด้านนวัตกรรมก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำแนวคิดการดำเนินงาน “A PART OF YOUR SUCCESS: เคียงข้างทุกความสำเร็จของคุณ” ร่วมกับ คุณเศณวี ชาตะเมธีวงศ์ และ คุณพชร เรือนทองดี สถาปนิกและผู้ร่วมก่อตั้งจาก “ดีไซร์ซินธีซิส” เนรมิต “Catenary Arch : ซุ้มคาเทนารี” แลนด์มาร์คสุดปังพื้นที่สำหรับนั่งพักผ่อนหย่อนใจของคนเมือง พร้อมทั้งนำมาให้ยลโฉมเป็นที่แรกในงาน Bangkok Design Week 2024 (BKKDW2024)

สำหรับ “Catenary Arch : ซุ้มคาเทนารี” นับเป็นผลงานชิ้นเอกที่ก้าวข้ามขีดจำกัดของงานดีไซน์ไปอีกขั้น กับการผสมผสานระหว่างงานประติมากรรมและงานวิศวกรรมโครงสร้างเข้าไว้ด้วยกัน ผนวกด้วยนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution การก่อสร้างขึ้นรูปคอนกรีต 3 มิติ ร้อยเรียงเส้นสายต่อกันเป็นชั้นๆ จนออกมาเป็นซุ้มประตูที่แสดงถึงการถ่ายแรงตามธรรมชาติที่สวยงาม โดดเด่น พร้อมทั้งยังใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้คอนกรีตสูตรรักษ์โลกอีกด้วย

นายเศณวี ชาตะเมธีวงศ์ Computational Design Director จาก ดีไซร์ซินธีซิส เผยว่า ทีมมีความสนใจในตัว 3D Printing อยู่แล้ว และปัจจุบันการก่อสร้างด้วย 3D Printing ในไทยยังเป็นพวกผนังตกแต่งเป็นส่วนใหญ่ ทางทีมเลยอยากท้าทายเพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ด้วยการนำนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution มาพัฒนาเป็นโครงสร้าง โดยประยุกต์ใช้ผนังรับน้ำหนัก (Bearing wall) ซึ่งรับแรงอัดได้อย่างเดียว มาพัฒนาให้สามารถใช้สร้างสถาปัตยกรรมที่รับแรงอัดเป็นส่วนใหญ่ได้ เพื่อดึงความเป็นไปได้ของการพิมพ์คอนกรีต 3 มิติออกมาให้ได้มากขึ้น

“สำหรับการตีโจทย์ในครั้งนี้ ตั้งใจที่จะสร้างความท้าทายให้กับผลงาน โดยใช้วิธีการทำงานร่วมกันระหว่างคนกับเครื่องมือที่ผสานความเป็นสถาปนิกและวิศวกรเข้าด้วยกัน เริ่มตั้งแต่เรื่องของวัสดุและเครื่องมือ ที่ได้มีการทดสอบแรงและระบบการทำงานของ 3D Printer โดยพิจารณาคุณสมบัติของวัสดุและข้อจำกัดของเครื่องจักร ต่อมาคือลักษณะการถ่ายแรงของโครงสร้าง ซึ่งใช้โปรแกรม Dynamic Relaxation จำลองด้านวิศวกรรมหารูปทรงจากปัจจัยต่างๆ เช่น แรง คุณสมบัติของวัสดุ ฟังก์ชั่น หรือข้อจำกัดอื่นๆ มาคำนวณเพื่อให้ได้รูปทรงเรขาคณิตที่แรงทั้งหมดภายในสมดุลกัน แล้วนำมาปั้นขึ้น 3D เพิ่มเข้าไป จนออกมาเป็นรูปทรง Catenary Arch ที่แสดงถึงการถ่ายแรงแบบที่มีแรงอัดที่มากพอจนโครงสร้างสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง และสุดท้ายคือประโยชน์ใช้สอย เราได้นำ Hard matters เมืองดีต่อกาย หนึ่งในสามหัวใจหลักของงาน Bangkok Design Week 2024 มาเป็นแกนหลักในการคิดจนออกมาเป็นแลนด์มาร์คที่จะเชื่อมโยงผู้คน เพื่อให้เป็นจุดนัดพบและเป็นพื้นที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจสำหรับทุกคน” 

ด้านนายพชร เรือนทองดี Digital Fabrication Director จาก ดีไซร์ซินธีซิส เผยว่า สำหรับการพิมพ์ขึ้นรูปตัว Catenary Arch เราใช้ 3D Printing 6 แกน เป็นเครื่องมือในการรังสรรค์ขึ้นมา ซึ่งมีการใช้หัวพิมพ์ถึง 2 ลักษณะ ที่แตกต่างกัน โดยส่วนเก้าอี้นั่งด้านล่าง ชั้นคอนกรีตจะมีขนาดเล็กกว่าและมีลักษณะการเรียงเหมือนชั้นเค้กที่เรียงต่อๆ กัน และในส่วนที่เป็นโค้ง (Arch) ชั้นคอนกรีตจะมีขนาดใหญ่และแต่ละชั้นจะเอียงตามองศาของส่วนโค้งจนออกมาเป็น       

ซุ้มประตูที่เรียงชั้นเป็นระเบียบอย่างสวยงาม ด้วยขนาด 3x3.5 เมตร  สูง 2.7 เมตร และด้วยจุดเด่นของ CPAC 3D Printing Solution ด้วยระบบการทำงานในแบบดิจิทัล จึงทำให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ ซึ่งสามารถช่วยลดระยะเวลา         ลดเศษวัสดุเหลือใช้ (Waste) จากการดำเนินงาน อีกทั้งยังใช้คอนกรีตสูตรรักษ์โลกที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับลดการปล่อย CO2 ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่านวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution รูปแบบใหม่ล่าสุด ชนิดสองส่วนผสม (3D printing mortar-2K) ร่วมกับหัวพิมพ์ชนิดพิเศษ (Advanced print head) ที่สามารถควบคุมระยะเวลาการแห้งตัวได้ตามต้องการ (Set-on-demand) และการใช้เครื่องพิมพ์ชนิด Robot printing ทำให้มีศักยภาพที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีรูปทรงซับซ้อน มีความละเอียดของชิ้นงานที่มากขึ้น มีองศาในการพิมพ์ที่มากกว่าเดิม (>20 องศา) และมีระนาบในการพิมพ์ที่ไม่เป็นระนาบเดียวหรือที่เรียกว่า (Non-planar printing) ได้อย่างสวยงาม อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

“ทั้งนี้ในฐานะนักออกแบบ ผมมองว่าเทคโนโลยี CPAC 3D Printing Solution นับเป็นเหมือนเครื่องมือชิ้นใหม่ที่สามารถสร้างชิ้นงานที่มีลักษณะเฉพาะตัวได้เป็นอย่างดี และมีศักยภาพในทุกๆด้านของงานคอนกรีต ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้าง หรืองานตกแต่งก็ตาม ซึ่งในอนาคตผมเชื่อว่าเทคโนโลยี 3D Printing จะมีการใช้ในโครงการที่อยู่อาศัยมากขึ้น และจะเน้นไปทาง Mass Customization มากขึ้นด้วย อาทิเช่น การทำให้บ้านแต่ละหลังมีลักษณะเฉพาะตัว แต่ก็ยังมีรูปทรงที่เข้ากันได้ หรือมีผนังกันแดดที่สูงแตกต่างกันตามตำแหน่งที่ตั้งของอาคาร ฯลฯ โดยทั้งหมดนี้ เทคโนโลยี 3D Printing สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ โดยไม่ต้องมีการเตรียมงานหน้างานเพิ่มเติมแถมยังสามารถลดการใช้ไม้แบบได้อีกด้วย”

มาร่วมสัมผัสสถาปัตยกรรมที่ก้าวข้ามขีดจำกัดของงานดีไซน์ด้วย “CPAC 3D Printing Solution” ได้ที่งาน Bangkok Design Week 2024 ณ ลานจตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 27 มกราคม – วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11:00 - 22:00 น. 

 

 

และสำหรับผู้สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ CPAC Contact Center 02-555-5555 และ CPAC Solution Center (CSC)  ทุกสาขา

1 กุมภาพันธ์ 2567
แชร์เนื้อหานี้ :

ความเคลื่อนไหว CPAC อื่นคุณอาจสนใจ

ข่าวสารและกิจกรรมอื่นที่คุณอาจสนใจ

ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ?