ESG Highlight

มุ่ง Net Zero


 

 

Net Zero
จากปัญหาสภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกให้ความตระหนัก และหันมาสร้างความร่วมมือกันเพื่อที่จะช่วยควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ในการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้แสดงเจตจำนงที่จะแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนร่วมกับประชาคมโลกอย่างจริงจัง โดยกำหนดเป้าหมายหลักว่าประเทศไทยจะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และบรรลุการปล่อย CO2 สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065

CPAC ตระหนักถึงความสำคัญและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการช่วยโลกของเราในการลด CO2จึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Global Cement and Concrete Association (GCCA) ซึ่งเป็นองค์กรซีเมนต์และคอนกรีตระดับโลก และได้นำแนวทาง Net Zero Cement & Concrete 2050 มากำหนดเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินงาน รวมถึงนำสู่ภาคปฏิบัติเพื่อให้การลด CO2เกิดขึ้นได้จริง

CPAC มีเจตจำนงในการตั้งเป้าหมายระยะยาวในการลดการปล่อย COสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 หรือ Net Zero 2050 และตั้งเป้าลดการปล่อย CO2 ลง 20 % เมื่อเทียบกับกรณีปกติ ณ ปีฐาน 2020 ผ่านกระบวนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (Alternative fuel) การเพิ่มสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Waste Heat Power Generation & Solar) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Product) การศึกษาเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Utilization/Storage) และการดำเนินการลดโลกร้อนด้วยวิธีทางธรรมชาติ (Natural Climate Solution : NCS) ผ่านการปลูก อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า

 

1. Zero Coal

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuels) เช่น ถ่านหิน ลิกไนต์ สำหรับเป็นแหล่งพลังงานความร้อนในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ CPAC มีความตระหนักที่ต้องการลดการปล่อย CO2 จากการใช้พลังงานดังกล่าว จึงได้ค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ นำมาสู่การใช้พลังงานทดแทน (Alternative Fuels) เช่น Biomass, Industrial waste,  Refuse Derive Fuel (RDF) หรือขยะชุมชนนำมาแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงแข็งทดแทน

รวมถึงการมองหาโอกาสจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย เปลือกและต้นข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง ฯลฯ มาแปรรูปเป็นเม็ดพลังงานชีวมวล หรือเรียกว่า “Energy Pellet” ซึ่งเป็นการหมุนเวียนนำทรัพยากรเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และยังได้ต่อยอดการนำเศษใบไม้หรือกิ่งไม้จากชุมชน มาผลิตเป็นพลังงานงานทดแทนสำหรับใช้ในหม้อเผาปูนซีเมนต์ ผ่านโครงการ “ชุมชนต้นแบบลดการเผา” โดยเริ่มดำเนินการไปแล้วที่จังหวัดลำปาง โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและชุมชนในพื้นที่ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในภาคเหนือของไทยด้วย

ในส่วนของกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ได้พัฒนาโดยการติดตั้งเครื่องจักรเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถใช้เชื้อเพลิงทดแทนได้มากขึ้น เช่น การติดตั้งระบบ Feed และลำเลียงเชื้อเพลิงทดแทน เครื่องย่อย Biomass รวมถึงการติดตั้งระบบ Chloride by pass เป็นต้น

จากความมุ่งมั่นในการหาแหล่งเชื้อเพลิงทดแทนใหม่ๆ ทำให้ปัจจุบันสามารถใช้เชื้อเพลิงทดแทนได้ถึง 26% และจะมีสัดส่วนที่สูงมากขึ้นในอนาคต

2. Zero Power

CPAC ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) เช่น ลมร้อนเหลือทิ้ง แสงอาทิตย์ โดยได้มีการติดตั้ง (Waste Heat Generator, WHG) เพื่อนำลมร้อนเหลือทิ้งจากการเผาปูนซีเมนต์มาใช้ผลิตไฟฟ้า และได้ติดตั้งโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย Solar Farm, Solar Floating และ Solar Rooftop ครบทุกโรงปูนซีเมนต์ในประเทศไทย คิดรวมเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์เท่ากับ 132,000 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ช่วยลดการปล่อย 66,000 ตัน CO2 ต่อปี ปัจจุบัน CPAC สามารถผลิตพลังงานทดแทนการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าได้ถึง 38 %

3. Low Carbon Product

ปัจจุบันลูกค้าได้ให้ความใส่ใจในการเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวทางของ CPAC ที่ต้องการพัฒนาสินค้า Low Carbon Product ทำให้มีการพัฒนาปูนซีเมนต์ เอสซีจี งานโครงสร้างสูตรไฮบริด ที่ปล่อย CO2 ลดลง 50 กิโลกรัมต่อตันปูนซีเมนต์ จากฉลาก SCG Green Choice และได้รับโล่เชิดชูเกียรติจากการขอรับรองฉลากเขียว (Green Label) และฉลากลดคาร์บอน (Carbon Reduction Label) หมวดปูนซีเมนต์จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย โดย CPAC เป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกของประเทศที่ได้รับการรับรองฉลากเขียว จากการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิต

สำหรับคอนกรีต CPAC ได้ต่อยอดพัฒนาเป็นคอนกรีตซีแพครักษ์โลกที่ช่วยลดการปล่อย CO2 ลงถึง 17 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตรคอนกรีต จากฉลาก SCG Green Choice นอกจากนี้ CPAC ได้ขอรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น Carbon Footprint Reduction (CFR) ของผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ ปูนมอร์ตาร์ และคอนกรีต จำนวน 29 ผลิตภัณฑ์และ Carbon Footprint Product (CFP) ของผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ ปูนมอร์ตาร์ และคอนกรีต จำนวน 64 ผลิตภัณฑ์ และสำหรับ SCG Green Choice ซึ่งเป็นฉลากที่ให้การรับรองโดย SCG มีผลิตภัณฑ์และบริการที่ขอการรับรองแล้วจำนวน 22 รายการ

 

4. Electrical Vehicle (EV)

การเปลี่ยนผ่านการใช้อุปกรณ์ที่อาศัยพลังงานฟอสซิลมาสู่อุปกรณ์พลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะรถไฟฟ้า CPAC ได้ริเริ่มนวัตกรรมรถโม่ไฟฟ้า (EV Mixer Truck) คันแรกของไทย มาใช้ขนส่งคอนกรีตด้วยพลังงานสะอาด ลดมลพิษและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 และ PM 10 ได้ถึง 45 กรัมต่อการขนส่ง 1 เที่ยว และช่วยลดการปล่อย CO2 ได้ถึง 26.5 ตัน COต่อปีต่อคัน และได้ต่อยอดการส่งมอบหินปูนด้วยพลังงานสะอาด โดยการนำรถไฟฟ้ามาใช้ในเหมืองหินปูนซึ่งเป็นโครงการนำร่องใช้รถบรรทุกหินปูนขนาด 60 ตัน ชนิดไฟฟ้า (EV Mining Truck) แห่งแรกในประเทศไทย จำนวน 4 คัน ที่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด และคาดว่าจะเปลี่ยนรถบรรทุกหินปูนเป็นชนิดไฟฟ้าสำหรับทุกเหมืองหินปูนในประเทศได้ 100% ภายในปี 2025 จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้รวม 1,148 ตัน CO2 ต่อปี

5. NCS

CPAC ดำเนินการลดโลกร้อนด้วยวิธีทางธรรมชาติ (Natural Climate Solution : NCS) เพื่อเพิ่มความหลากลาย และเป็นแหล่งการดูดซับ CO โดยในปี 2021 ที่ผ่านมา ได้กักเก็บปริมาณ CO 4,400 ตัน (ที่ระยะเวลา 10 ปี)
จากการปลูกป่าบก 140 ไร่ ป่าโกงกาง 20 ไร่ และ หญ้าทะเล 20 ไร่

นอกจากนี้ CPAC มีแผนในการสร้างความร่วมมือกับทางหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรณ์ทางทะเลและชายฝั่ง องค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บ CO ด้วยวิธีทางธรรมชาติ (Natural Climate Solution) ตลอดจนติดตามการประเมิน ตรวจวัดการดูดซับและกักเก็บ CO ในอนาคต

 

แชร์เนื้อหานี้ :

ESG Highlightที่เกี่ยวข้อง

ดูESG Highlightทั้งหมด

ยอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัว

นโยบายการใช้คุกกี้นี้ จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้คุกกี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ ของเว็บไซต์ทั้งหมด โดยท่านสามารถดูรายการคุกกี้และตั้งค่าการยอมรับการใช้งาน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ?